โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (และมีการเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ตโฟน
โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส
โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงในปี พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม[1] ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน[2] มาเป็น 4,600 ล้านคน[3]

เนื้อหา

  

วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ

  • 1G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ analog ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น NMTAMPS, DataTac
  • 2G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GSMcdmaOnePDC
  • 2.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ packet switching มาใช้ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GPRS
  • 2.75G ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น CDMA2000 1xRTTEDGE
  • 3G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวิดีโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น W-CDMATD-SCDMACDMA2000 1x-EVDO
  • 3.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 3G เช่น HSDPA ใน W-CDMA
  • 4G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ Real-Digital สามารถเชื่อมต่อข้อมูล 3 แบบ ภาคพื้นดิน CDMA PA-H และการเชื่อมต่อ ewifi และ Wi-Max เพื่อการเชื่อมภาพและเสียงเป็นข้อมูลเดียวกัน

ระบบปฏิบัติการมือถือ

ส่วนแบ่งการตลาด

ผู้ผลิตมือถือ

ที่มาสถิติเมื่อโนเกียซัมซุงแอลจีRIMโซนี่ อิริคสันอื่นๆอ้างอิง
IDCไตรมาสที่ 1 ปี 255336.6%21.8%9.2%3.6%3.6%25.3%[4]
Gartnerไตรมาสที่ 1 ปี 255335.0%20.6%8.6%3.4%3.1%29.3%[5]
IDCไตรมาสที่ 3 ปี 255424.2%19.2%6.8%n/an/an/a[6]
Gartnerไตรมาสที่ 3 ปี 255422.8%16.3%5.7%n/an/ana[7]

ระบบปฏิบัติการมือถือ

ที่มาสถิติเมื่อซิมเบียนBlackBerry OSแอนดรอยด์iOSวินโดวส์ โมบายอื่นๆรวมอ้างอิง
IDCไตรมาสที่ 1 ปี 255340.1%17.9%16.3%14.7%6.8%4.2%100%[8]
Inwไตรมาสที่ 2 ปี 255419.2%13.4%38.5%19.4%5.6%3.9%100%[9]

ผลกระทบต่อสุขภาพ

ความเชื่อที่ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาวนั้น ปัจจุบันได้รับการยืนยันจากองค์การอนามัยโลกแล้ว โดยองค์การฯ ได้บรรจุโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ในรายชื่อวัตถุก่อมะเร็ง[10][11] ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ออกรายงานเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[12] โดยจัดว่ารังสีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็น "วัตถุก่อมะเร็ง" และ "อาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์" ได้ รายงานดังกล่าวออกมาหลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทบทวนการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยของโทรศัพท์เคลื่อนที่[13] งานวิจัยหนึ่งว่าด้วยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอดีตนั้นได้ถูกอ้างอิงในรายงานซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างหนักจะมีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในสมองมากขึ้นถึง 40% (รายงานการใช้โดยเฉลี่ย 30 นาทีต่อวัน เป็นเวลาติดต่อกันนานกว่า 10 ปี)[14] ซึ่งรายงานดังกล่าวตรงกันข้ามกับการสรุปก่อนหน้านี้ซึ่งไม่คาดว่ามะเร็งจะเกิดขึ้นเป็นผลมาจากโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือสถานีฐาน และการทบทวนดังกล่าวไม่ได้พบหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่นแต่อย่างใด[15][16]

ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือ

แคนาดา
จีน
ฟินแลนด์
ฝรั่งเศส
อินเดีย
อิสราเอล
อิตาลี
ญี่ปุ่น
มาเลเซีย
เนเธอร์แลนด์
รัสเซีย
เกาหลีใต้
สวีเดน
สวิสเซอร์แลนด์
ไต้หวัน
เยอรมนี
ไทย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
เวเนซูเอลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น